logo




โครงการตำรา

โครงการตำรา

หน้าหลัก บุคลากร โครงการตำรา

หลักเกณฑ์การให้ทุนพัฒนาอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ด้วยคณะศึกษาศาสตร์ มีความประสงค์จะส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน การค้นคว้า การสร้างผลงานทางวิชาการ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ระเบียบว่าด้วยกองทุนของหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2547 และตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนคณะศึกษาศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 จึงกำหนดหลักเกณฑ์การให้ทุนไว้ดังต่อไปนี้



มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณบดี” หมายความว่า คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะ” หมายความว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนคณะศึกษาศาสตร์

อาจารย์” หมายความว่า ข้าราชการในมหาวิทยาลัย หรือพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ ของคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งทำหน้าที่สอนในคณะศึกษาศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับถึงวันที่ยื่นขอทุน

ศึกษา” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียน โดยการศึกษาต่อเต็มเวลาตลอดหลักสูตรในต่างประเทศ ตามหลักสูตรภาคปกติของสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิชาชีพเพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในระดับที่สูงขึ้นตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น

วิจัย” หมายความว่า การศึกษาค้นคว้าในงานที่ผู้ขอรับทุนรับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สอน โดยดำเนินการตามหลักการวิจัยที่ถูกต้อง และต้องไม่เป็นงานวิจัยในการศึกษาเพื่อจบหลักสูตรของผู้ขอรับทุน

ฝึกอบรม” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์โดยไม่มีการรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น

การประชุมวิชาการ” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้หรือประสบการณ์ด้วยการนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ

ตำรา” หมายความว่า งานวิชาการที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนทั้งวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ซึ่งเกิดจากการนำข้อค้นพบจากทฤษฎี จากงานวิจัยของผู้เขียน หรือความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าศึกษา มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวบรวมและเรียบเรียง โดยมีมโนทัศน์ที่ผู้เขียนกำหนดให้เป็นแกนกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับมโนทัศน์ย่อยอื่นอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพสัมพันธภาพและสารัตถภาพตามหลักการเขียนที่ดี ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ และให้ความรู้ใหม่อันเป็นความรู้สำคัญที่มีผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวงการวิชาการนั้น ๆ เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบายหรือการวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม และดัชนีค้นคำ ทั้งนี้ควรมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบจนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ

หนังสือ” หมายความว่า งานวิชาการที่เกิดจากการค้นคว้าศึกษาความรู้ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก ที่เป็นแกนกลางและมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กัน มีความละเอียดลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาของหนังสือไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง เนื้อหาของหนังสือต้องมีความทันสมัย เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิง บรรณานุกรม และดัชนีค้นคำ ที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอาจมีข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบด้วยก็ได้ ตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

1. เป็นงานที่อาจารย์เขียนทั้งเล่ม (authored book)

2. เป็นงานวิชาการบางบทหรือส่วนหนึ่งในหนังสือที่มีผู้เขียนหลายคน (book chapter)

ตำราหรือหนังสือที่ผู้ขอรับทุนต้องมีลักษณะดังนี้

มิได้จัดทำขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น

มิได้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์/หน่วยงานใดเพื่อการจัดจำหน่ายมาก่อนขอรับทุน

ผู้ขอรับทุนเขียนตำราหรือหนังสือ จะต้องยื่นใบสมัครขอรับทุนและเสนอโครงการตามแบบที่กำหนด และขอได้ครั้งละ 1 เรื่อง ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ก่อนการขอรับทุนครั้งต่อไป

ผู้ได้รับทุนไปศึกษา ฝึกอบรมตามความต้องการของคณะ และผู้ได้รับทุนวิจัย ต้องทำสัญญากับคณะศึกษาศาสตร์ สำหรับผู้ได้รับทุนศึกษาหรือฝึกอบรม ให้กลับมาปฏิบัติงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ผู้ได้รับทุนผู้นั้นไปศึกษาหรือฝึกอบรม การทำสัญญาให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

กรณีผู้ได้รับทุนไม่กลับมาปฏิบัติงานตามสัญญา ต้องชดใช้เงินเดือนที่ได้รับระหว่างไปศึกษา ฝึกอบรม และเงินทุนที่ได้รับ กับต้องชดใช้เงินเพิ่มอีกสองเท่าของจำนวนเงินเดือนและเงินทุนที่ได้รับ ให้เป็นเบี้ยปรับแก่ทางหน่วยงานอีกด้วย

ในกรณีที่ผู้ได้รับทุน กลับมาแล้วปฏิบัติงานไม่ครบกำหนดตามสัญญา ก็ให้ลดเงินที่จะต้องชดใช้และเบี้ยปรับตามวรรคแรกลงตามส่วน

กรณีผู้ได้รับทุนวิจัยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา จะต้องชดใช้เงินทุนตามที่ได้รับไป แล้วคืนกองทุนคณะศึกษาศาสตร์

กรณีมีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนคณะศึกษาศาสตร์