ข่าวประชาสัมพันธ์

  • ประกาศ ผลการตัดสินรางวัลการประกวดบทความวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาครู ประจําปี พ.ศ. 2568
  • ประกาศ ผลการพิจารณาบทความวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาครู (ครั้งที่ 8) ปี พ.ศ. 2568
  • ดาวน์โหลดใบประกาศนียบัตร

    ไม่พบข้อมูล!

    รางวัลการประกวด

    ทั้งนี้ผู้สมัครที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตร

    การนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย

    รางวัลที่ 1 เงินสดจำนวน 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัลที่ 2 เงินสดจำนวน 6,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัลที่ 3 เงินสดจำนวน 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัลชมเชย 3 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัล Popular Vote เงินสดจำนวน 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    การนำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์

    รางวัลที่ 1 เงินสดจำนวน 7,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัลที่ 2 เงินสดจำนวน 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัลที่ 3 เงินสดจำนวน 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    รางวัล Popular Vote เงินสดจำนวน 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

    ขั้นตอนและวิธีการสมัคร

    ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดในโครงการ สามารถสมัครได้โดยเข้าไปในระบบการรับสมัครแบบ Online หน้าเว็บไซต์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (www.edu.ku.ac.th) โดยเข้าไปกรอกข้อมูลรายละเอียดใน “การรับสมัคร” และส่งแนบ “บทความเรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียน” ตามรูปแบบที่กำหนด

    ผู้สมัครสามารถส่งประกวดการนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย หรือภาคโปสเตอร์ อย่างใดอย่างหนึ่งได้เพียงอย่างเดียว หรือสามารถให้คณะกรรมการฯ เป็นผู้เลือกให้ว่าเหมาะสมจะนำเสนอในรูปแบบใดก็ได้

    ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครได้ที่เว็บไซต์ www.edu.ku.ac.th จนถึงภายหลังวันปิดรับสมัคร

    คณะกรรมการอาจสอบถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการพิจารณา ภายหลังจากการสมัครของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

    หลังจากการประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก ให้ผู้ผ่านการคัดเลือกทุกคนได้มานำเสนองานวิจัยตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนด ถ้าผู้ผ่านการคัดเลือกไม่มาในวันดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์

    การนำเสนอและตัดสินการประกวดรอบสุดท้าย จะมีการตัดสินรางวัลโดยคณะกรรมการตัดสินซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยในชั้นเรียนและผู้ทรงคุณวุฒิ

    คุณสมบัติของผู้สมัคร

    เป็นนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (หรือเพิ่งจบการศึกษา) ที่ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนในปีการศึกษา 2567 และผ่านการทำวิจัยในชั้นเรียนขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน โดยนิสิตนักศึกษาที่สมัครเข้าร่วมประกวดต้องเป็นเจ้าของผลงานวิจัย ในชั้นเรียนที่มานำเสนอ

    กรอกใบสมัคร

    เงื่อนไขการเข้าประกวด

    ผู้มีสิทธิ์เข้าประกวดต้องเป็นนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (หรือเพิ่งจบการศึกษา) ที่ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน/วิทยาลัย (สถาบันการศึกษา) ในปีการศึกษา 2567 และผ่านการทำวิจัยในชั้นเรียนขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน โดยผู้สมัครเข้าร่วมประกวดต้องเป็นเจ้าของผลงานวิจัยในชั้นเรียนที่มานำเสนอ และให้สิทธิ์ 1 คนต่อ 1 ผลงานเท่านั้น

    เนื้อหาของการทำวิจัยในชั้นเรียน คือ เนื้อหาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับโรงเรียน ประกอบด้วย (1) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (2) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (3) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ (4) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม/ศิลปะ/การงานอาชีพและเทคโนโลยี (5) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (6) เนื้อหาแบบบูรณาการศาสตร์
    ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น สาขาวิชาการประถมศึกษา สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา เป็นต้น ถ้าได้ทำวิจัยในชั้นเรียนในเนื้อหาข้างต้น ก็สามารถเข้าร่วมการประกวดได้

    ผู้เข้าประกวดต้องส่ง “บทความเรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียน” ตามรูปแบบที่กำหนด ให้มีเนื้อหาประมาณ 12 – 15 หน้ากระดาษ A4 โดยเล่าถึงงานวิจัยในชั้นเรียนที่นิสิตนักศึกษาได้ดำเนินการในช่วงฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน

    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จะรวบรวมบทความเรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียนที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการประกวด (เฉพาะบทความที่ได้รับรางวัล) มารวมเป็นเล่ม “หนังสือรวมบทความวิจัยในชั้นเรียน” ซึ่งจะจัดทำต่อไปในภายหลังจากการประกวดรอบสุดท้าย โดยผู้รับผิดชอบโครงการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของหนังสือ

    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จะแจกหนังสือรวมบทความเรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียนให้ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดคนละ 1 เล่มทางไปรษณีย์ ภายหลังที่หนังสือพิมพ์เสร็จสมบูรณ์

    บทความเรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียน ผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้เรียบเรียงเองและเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากหน่วยงานใด ๆ มาก่อน

    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนผลงานของผู้ส่งงานเข้าประกวด และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนได้ทุกรูปแบบ โดยปราศจากข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น

    โครงการฯ ไม่สนับสนุนการคัดลอกผลงานโดยไม่ได้ใส่ข้อมูลอ้างอิงแหล่งที่มา ซึ่งถือเป็นการผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย ทั้งนี้หากผู้รับผิดชอบโครงการฯ ตรวจพบ จะถือว่าผลงานนั้นขาดคุณสมบัติในการประกวดและคณะกรรมการขอตัดสิทธิ์ในการแข่งขันและการรับรางวัล แม้จะประกาศผลไปแล้ว ซึ่งทางผู้รับผิดชอบโครงการฯ สามารถเรียกคืนหรือยกเลิกรางวัลได้

    ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

    ผู้สมัครถือว่าได้รับทราบและยอมรับในเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการแล้ว

    หากผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ มีปัญหาหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ในการเข้าร่วมโครงการฯ ให้ประสานงานไปที่ ศูนย์ปฏิบัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์ โทร. 02-579-1311 E-mail : fedutpk@ku.ac.th

    14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

    ประชาสัมพันธ์โครงการ

    14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

    วันเปิดรับสมัครและส่งผลงาน

    21 มีนาคม พ.ศ. 2568

    วันสุดท้ายของการรับสมัครและส่งผลงาน

    8 เมษายน พ.ศ. 2568

    คณะกรรมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาผลงานรอบคัดเลือก

    10 เมษายน พ.ศ. 2568

    ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก

    22 เมษายน พ.ศ. 2568

    การนำเสนอและตัดสินการประกวดรอบสุดท้าย

    รูปแบบการเขียน

    พิมพ์บทความเรื่องเล่างานวิจัยในชั้นเรียนของตนเองด้วยโปรแกรม Microsoft Word เนื้อหาประมาณ 12 – 15 หน้ากระดาษ A4 โดยใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษรปกติคือ 16 ขนาดตัวอักษรชื่อผลงานคือ 20 ขนาดตัวอักษรชื่อหัวเรื่องต่าง ๆ คือ 18 และขนาดตัวอักษรเชิงอรรถคือ 14

    เนื้อหาในบทความให้เขียนในลักษณะ “การเล่าเรื่อง” อาจไม่เป็นทางการมากนัก แต่ควรใช้คำหรือ ภาษาที่สุภาพและเหมาะสม โดยกล่าวถึงภาพรวมของงานวิจัยในชั้นเรียนที่สะท้อนถึงนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิสิตนักศึกษาที่ออกแบบ พัฒนาและนำไปใช้ โดยอย่างน้อยให้ครอบคลุมสาระดังต่อไปนี้ ได้แก่ ที่มาและความสำคัญของการวิจัย คำถามวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ของงานวิจัย ขอบเขตของงานวิจัย แนวคิดและหลักการที่ใช้ในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ทั้งนี้อาจเพิ่มเติมสาระอื่น ๆ ได้อีกตามความเหมาะสม

    การเขียนบทความ อาจใช้ภาพประกอบ ตารางหรือแผนภูมิได้ตามความเหมาะสม อาจสร้างสรรค์หัวข้อหรือหัวเรื่องย่อย ๆ ได้ใหม่ตามที่นิสิตนักศึกษาอยากนำเสนอเพื่อให้น่าสนใจและชวนติดตาม

    การเขียนบทความ ให้เริ่มจาก ชื่อผลงาน ชื่อผู้วิจัย ชื่อครูพี่เลี้ยง และชื่ออาจารย์นิเทศก์ แล้วต่อด้วยหัวข้อหรือ หัวเรื่องย่อย ๆ ตามลำดับ และตอนท้ายของหน้าแรกให้เขียนเชิงอรรถ (Footnote) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ขั้นตอนและวิธีการประกวด

    คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกโดยพิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้สมัครและคุณภาพของผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วจึงประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้าร่วมนำเสนอผลงานในรอบตัดสินสุดท้าย

    Placeholder
    การนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย ให้ผู้นำเสนอได้นำเสนอปากเปล่าในวันประกวดรอบสุดท้าย โดยใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอได้ เช่น PowerPoint สื่อการเรียนรู้ ที่ประกอบงานวิจัย เป็นต้น การนำเสนอจะให้เวลานำเสนอคนละ 12 นาที ตามช่วงเวลาที่กำหนด (โดยให้กล่าวแนะนำตนเองเป็นภาษาอังกฤษก่อนเป็นเวลาไม่เกิน 1 นาที) และให้เวลาซักถามอีก 5 นาที ณ ห้องประชุม รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี เล่ห์มงคล อาคาร 4 ชั้น 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    Placeholder
    การนำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ ให้ผู้นำเสนอใช้แผ่นโปสเตอร์ที่ออกแบบเองให้ครอบคลุมแนวคิดของการวิจัยและสวยงาม ขนาดมาตรฐาน 91 x 122 เซนติเมตร (หรือ 36 x 48 นิ้ว) และสามารถนำมาติดตั้งได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ ห้องรับรอง อาคาร 4 ชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การติดตั้งโปสเตอร์จะติดตั้งตามแนวตั้ง และติดบนบอร์ด ที่เตรียมไว้ให้ และในวันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลาประมาณ 09.00 น. ณ ห้องประชุม รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี เล่ห์มงคล อาคาร 4 ชั้น 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ผู้นำเสนอเตรียมกล่าวแนะนำตนเองรวมถึงแนวคิดในการทำวิจัยในชั้นเรียนของตนเองอย่างสั้น ๆ และเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานมาชมโปสเตอร์ของตนเองบนเวทีที่ประชุม (กล่าวเป็นภาษาอังกฤษ) คนละ 2 นาที จากนั้นลงมาที่ลานแสดงโปสเตอร์ที่ติดตั้งไว้ ให้ยืนนำเสนอข้างโปสเตอร์ของตนเองเมื่อมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม และตอบคำถามตามช่วงเวลาที่กำหนด

    คณะกรรมการจะนำคะแนนมาประมวลผล รวมถึงการดำเนินการหาผู้นำเสนอที่เป็น Popular Vote แล้วประกาศผลการตัดสินต่อไป

    เกณฑ์การพิจารณาและการตัดสิน

    1. เป็นงานวิจัยในชั้นเรียนที่ดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักการของการวิจัย

    2. มีเทคนิคลีลาในการพูด/การนำเสนอที่น่าสนใจ

    3. การเรียบเรียงเขียนบทความใช้การเขียนสื่อสารที่กระชับ เข้าใจง่าย น่าสนใจ และเป็นระเบียบเรียบร้อย

    4. เป็นงานวิจัยในชั้นเรียนที่สะท้อนการเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา มีคุณค่า/ประโยชน์ น่าสนใจ

    คณะกรรมการตัดสิน

    ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยในชั้นเรียน

    ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในแวดวงการศึกษาหรือในสถานศึกษา

    ผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการหรือคุรุสภา